ถอดบทเรียนชีวิตจากมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก อีลอน มัสก์ เเละ 4 เคล็ดลับที่ทำให้ อีลอนมัสก์ประสบความสำเร็จ

ถอดบทเรียนชีวิตจากมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก อีลอน มัสก์ เเละ 4 เคล็ดลับที่ทำให้ อีลอนมัสก์ประสบความสำเร็จ

“สิ่งที่ผมกำลังพยายามทำคือ ลดภัยคุกคามในอนาคตให้น้อยที่สุด หรือลงมือทำอะไรก็ตามที่ผมทำได้ เพื่อให้มั่นใจว่า อนาคตจะต้องสดใส เเละผมไม่ได้คาดหวังให้บริษัทของผมต้องประสบความสำเร็จ ผมคิดว่าพวกมันมีเเววล้มเหลวมากกว่า”
Elon musk
อีลอน มัสก์

ถอดบทเรียนชีวิตจากมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก อีลอน มัสก์ (ฉบับเจาะลึกเเละนำไปใช้ได้จริง)

Topics

อีลอน มัสก์ ในวัยเยาว์

สมัยยังเด็ก ผมมักจะเดินอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ อยู่ตลอดเวลา ผมเป็นพวกรู้มาก ซึ่งมันทำให้ผมโดนเพื่อนๆ รังเเกอยู่บ่อยครั้ง ผมทั้งถูกเรียกสารพัดชื่อตามที่อยู่ในหนังสือ เเล้วก็ถูกเพื่อนเกเรซ้อมด้วย ดังนั้นสำหรับผม ช่วงชีวิตในวัยเด็กเป็นประสบการณ์การถูกบูลลี่ที่ไม่ค่อยดีนัก

หนังสือเปลี่ยนชีวิต

ผมอ่านหนังสือหลากหลายประเภท เพื่อพยายามค้นหาความหมายของชีวิต เพราะชีวิตของผมในตอนนั้นมันดูไร้ความหมายมาก เเล้วผมบังเอิญไปเจอหนังสือที่ชื่อว่า The Hichhiker’s Guide to the Galaxy เป็นหนังสือเกี่ยวกับการท่องอวกาศ หลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมกลับไปตั้งคำถามกับตัวว่าทำไมชีวิตของผมถึงดูไร้ความหมาย เเล้วผมก็ค้นพบว่า สิ่งที่ยากก็คือการคิดว่าคุณจะตั้งคำถามอะไรดี เเต่เมื่อคุณคิดได้เเล้วที่เหลือก็จะง่ายมาก

หลังจากนั้นในวัย 12 ปี ผมเริ่มสนใจการเขียนโปรเเกรม ผมจึงหยิบหนังสือสอนการเขียนโปรเเกรมขึ้นมาอ่าน ซึ่งปกติคนทั่วไปจะใช้เวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาเป็นเดือน เเต่ผมกลับเข้าใจมันได้ใน 3 วัน เเล้วผมก็เลยสร้างเกมขึ้นเเล้วขายไปในราคา 500 ดอลลาห์ (ประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันบาทไทย)

การศึกษา

ผมได้ทุนการศึกษาที่ยูเพน (มหาวิทยาลัยระดับท็อปของอเมริกา) เเล้วผมก็พยายามอย่างหนักจนเรียนจบปริญญาตรีสองใบสาขาภาควิชาธุรกิจเเละฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยยูเพน วอร์ตัน

เลือกเส้นทางอาชีพ

สมัยเรียนมหาวิยาลัยผมคิดเเต่ว่า “อืม…อะไรคือสิ่งที่น่าจะมีผลกระทบมากที่สุดต่ออนาคตของมวลมนุษยชาติในระดับมหันตภาพกันนะ” เเละดูเหมือว่าจะมีก็เเต่ อินเทอร์เน็ต, พลังงานยั่งยืน, การทำให้ชีวิตสามารถอยู่บนดวงดาวหลายดวงได้, พันธุศาสตร์ เเละสุดท้ายก็คือปัญญาประดิษฐ์ ผมคิดว่าสามอย่างเเรกมีผลกระทบมากที่สุด ถ้าคุณศึกษาเรื่องพวกนี้ ก็น่าจะไปได้สวยเเน่ๆ เเต่ดูท่าสองอย่างหลังจะเสี่ยงมากกว่านิดๆ”

ก่อตั้งบริษัทอินเทอร์เน็ต

ตอนฤดูร้อนปี 2538 สำหรับผมมันดูเหมือนว่าอินเทอร์เน็ตจะต้องส่งผลอย่างมากต่อมนุษย์ ผมกำลังคิดว่า “ผมจะเลือกทำปริญญาเอกที่สเเตนฟอร์ดพร้อมๆกับนั่งดูอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้น หรือจะพักการเรียนไว้ก่อนเเล้วเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมัน” มันไม่ใช่ว่า “อ๋อ ฉันอยากทำเงินเป็นกอบเป็นกำน่ะ” เเต่อินเทอร์เน็ตทำให้ทุกคนที่มีการเชื่อมต่อในทุกเเห่งบนโลกนี้เเละสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดบนโลกได้เหมือนกับระบบประสาท มนุษยชาติจะกลายเป็นสุดยอดสิ่งมีชีวิตที่มีคุณภาพชีวิต เเตกต่างไปจากเดิมดังนั้น “ผมจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนั้น”

จุดเริ่มต้นของ Zip2, X.com เเละ PayPal

ตอนนั้นผมไม่มีเงิน ผมก็เลยคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อหาเงินผมคิดว่า วงการสื่อจะต้องอยากได้ตัวช่วยในการดัดเเปลงเนื้อหาจากสื่อสั่งพิมพ์เป็นอิเล็กทรอนิกส์เเละเห็นได้ชัดว่าพวกเขามีเงิน ถ้าเราหาวิธีช่วยพวกเขาย้ายสื่อที่มีเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้มันก็จะเป็นวิธีการสร้างรายได้อย่างเห็นได้ชัด ผมจึงก่อตั้ง Zip2 ขึ้น (สมัยนั้นยังไม่มีการหารายได้จากการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต) ด้วยเเรงกายเเรงใจของตนเอง กับทักษะการคิดเขียนโปรเเกรมที่มี หลังจากทำ Zip2 ไปได้สักพัก ผมก็รู้สึกอยากทำอีกหนึ่งบริษัท เพราะผมคิดว่าเรายังไม่ได้ใช้ศักยภาพของเราเต็มที่เท่าที่ควรจะทำได้ในบริษัท Zip2 เลย ความคิดเเรกของผมคือ บริการด้ารการเงินในรูปเเบบของดิจิทัล ผมจึงสร้าง X.com ขึ้นมา (PayPal เป็นการรวมตัวของสองบริษัทคือ X.com ที่ผมสร้าง กับ Confinity ที่เเม็กซ์ เลฟชิน เเละปีเตอร์ ทีล เป็นคนก่อตั้ง เราร่วมทุนกันตั้งบริษัทไปได้ไม่ถึง 14 เดือนก็สามารถสร้างมูลค่าได้ถึง 500 ล้านดอลลาร์ เลยทีเดียว)

เคล็ดลับของอีลอน

เคล็ดลับที่ 1 การคิดเเบบปฐมมูล (First Principle Thinking)

คือการคิดเเบบย่อยทุกอย่างลงให้เหลือเพียงความจริงพื้นฐานที่สุดของมัน (คิดบนพื้นฐานความเป็นจริง) เเล้วค่อยประกอบเหตุผลขึ้นมาใหม่จากตรงนั้น ไม่ใช่ให้เหตุผลจากการเปรียบเทียบ (การเลียนเเบบผู้อื่น)หรืออาจจะต่างไปบ้างเล็กน้อย เพราะถ้าไม่ทำเเบบนั้น คุณอาจจะคิดอะไรต่อไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น คนหลายคนมักจะคิดว่าการจะสร้างรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าต้องใช้ต้นทุนสูงกว่ารถปกติที่ใช้น้ำมัน เพราะนำไปเทียบกับรถไฟฟ้าคันอื่นๆ เเต่อีลอน มัสก์ ไม่คิดเเบบนั้น เค้าหาทางใช้หลักการปฐมมูลในการสร้างมันขึ้นมาว่ารถพลังงานไฟฟ้าคันหนึ่ง มันมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เเต่ละองค์ประกอบมีต้นทุนเท่าไหร่ เเละสามารถประหยัดตรงไหนได้บ้าง ในที่สุดเค้าก็ใช้ต้นทุนที่น้อยกว่าเจ้าอื่นๆจนได้ในการสร้างจรวด อีลอนก็ใช้หลัักการเดียวกัน

เคล็ดลับที่ 2 อย่าทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง

คุณไม่สามารถสร้างรถหรือจรวดที่ปฏิวัติโลกด้วยการทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง การตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารไม่มีทางเกิดขึ้นจากการทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง

เคล็ดลับที่ 3 นิสัยที่ทำให้ อีลอน ประสบความสำเร็จ

1. เขาอ่านหนังสือมาก พอๆ กับที่คนทั่วไปดูทีวี สมัยเรียนประถมเขาอ่านหนังสือกว่าสิบชั่วโมงต่อวันโดยตามอ่านทุกสิ่งทุกอย่างในห้องสมุดรวมไปถึง สารานุกรม Britannica ทั้งหมด เขาอ่านหนังสือแบบเรียนของหลักสูตร 6 เดือนจบภายในเวลาแค่ 3 วัน! 2. เขาทุ่มเทให้กับความสนใจที่เเท้จริงของตัวเองอย่างไม่หยุดหย่อน 3. เขาเป็นคนมองโลกในแง่ดี เขาคิดเสมอว่าตนเองเป็นน้ำไม่เต็มเเก้วแม้ว่าทุกคนบนโลกจะกล่าวว่าบริษัททั้งสองบริษัทของเขา เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จมหาศาล แต่ตัวอีลอนเองกลับไม่ได้คิดเช่นนั้นเลย 4. เขาเชื่อว่าความล้มเหลวถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ผู้คนนับไม่ถ้วนรวมถึงผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกกับอีลอนว่า ไอเดียของเขาเป็นเรื่องไร้สาระและไม่มีทางสำเร็จได้ถึงอย่างนั้นเขาก็เลือกที่จะไม่ใส่ใจและยังคงทำสิ่งต่างๆในแบบที่เขาต้องการ อีลอนกล่าวว่า “ความล้มเหลวถือเป็นหนึ่งในตัวเลือก ถ้าคุณยังไม่เคยพลาดนั่นอาจแปลว่าคุณยังไม่เคยริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ๆ”

เคล็ดลับที่ 4 ลงทุนในนวัตกรรม (Innovating Invest)

อีลอน มัสก์ จะไม่ชอบเเนวคิดของคนที่เรียนจบ MBA มากเท่าไหร่ เพราะคนพวกนั้นมักจะให้ความสำคัญกับ “กำไร เเละตัวเลข” มากกว่าการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่อีลอนให้ความสำคัญมากกว่า

สรุปข้อคิด+นำไปปรับใช้

1. จงเป็นคนที่กระหายการเรียนรู้2. สิ่งที่ยากที่สุดคือการหาว่าจะตั้งคำถามอะไร หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะง่าย3. ทุ่มเทให้กับสิ่งที่รัก4. มองการณ์ไกล5. กล้าที่จะเสี่ยงโดยไม่กลัวความล้มเหลว6. การเริ่มที่ดีที่สุดคือการเริ่มเมื่อสิบปีที่เเล้ว.. เเต่การเริ่มที่ดีรองลงมาคือการเริ่มตั้งเเต่ตอนนี้7. การคิดเเบบใช้หลักการปฐมมูล (First Principle Thinking)8. ทำงานให้มากกว่าสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง (อีลอนมักจะทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)9. มองโลกในเเง่ดี10. ไม่ยอมเเพ้ ที่มาข้อมูล:- หนังสือ ติดจรวดทางความคิดเเบบอีลอนมัสก์- https://bit.ly/3jH4NGt